วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี DLNA คืออะไร

admin's picture
DLNA มาจากคำว่า Digital Living Network Alliance  ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" โดยจะใช้งานได้นั้นอุปกรณ์จะต้องมีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่เพื่อระบุว่าสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้
เทคโนโลยี DLNA  นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY นี้เอง  ปัจจุบันนี้มีสมาชิก  245 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น  ACCESS, AT&T Labs, Awox, Broadcom, Cisco Systems, Comcast, DIRECTV, Dolby Laboratories, Ericsson, Hewlett-Packard, Huawei, Intel, LG Electronics, Microsoft, Motorola, Nokia, Panasonic, Promise Technology, Qualcomm, Samsung Electronics, Sharp Corporation, Sony Electronics, Technicolor, and Verizon.และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง Samsung  ที่ใช้ชื่อว่า  Allshare  และ LG ก็ใช้อีกชื่อคือ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้
ประโยชน์ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analogเชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้ แต่ถ้าเราจะได้ใช้เทคโนโลยี DLNA …smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ  คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet  หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง  Wi-Fi เดียวกันกับทีวีด้วย
อุปกรณ์ที่รองรับ DLNA มีสองโหมด คือ โหมดสำหรับเป็น Server ให้ อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆเล่นไฟล์จากตัวเรา กับอีกโหมดคือเอาอุปกรณ์ที่ถืออยู่เล่นไฟล์จากเครืองอื่นๆ  อาจจะดูงงๆ พูดอีกทีก็คือเป็นผู้เล่น หรือเป็นผู้แชร์นั่นเอง แถมอีกอันที่ลึกซึ้งหน่อยคือ สามารถเป็นตัวควบคุมให้อุปกรณ์อีกตัวเล่นไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์อื่นอีกที .. เป็นไงล่ะ งงกันเลยทีเดียว
ซึ่งเท่าที่ลองมา พบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะทำตัวเองเป็นได้ทั้งตัวเล่นไฟล์และตัวแชร์ไฟล์ เช่น TV สามารถเลือกไฟล์หนังจาก Network Storage มาเล่นได้ ในขณะเดียวกัน TV เองก็สามารถแชร์ไฟล์รายการที่อัดไว้(ถ้ามี) ให้กับ Notebook หรือมือถือเอาไปเล่นต่อได้เช่นกัน
ตามทฤษฏี DLNA สามารถเป็นได้ 4 โหมด คือ
DMC (Digital Media Controllers) : อุปกรณ์ควบคุมการเล่นและดึงไฟล์ Media จาก Server (DMS)
DMS (Digital Media Servers) : ทำอุปกรณ์ของตัวเองเป็นที่เก็บไฟล์ต่างๆ (Server) ให้อุปกรณ์ตัวอื่นดึงไฟล์ของเราไปใช้งานได้
DMR (Digital Media Renderers) : มีอุปกรณ์ (DMC) มาควบคุมเราในการใช้งานตัวอย่างเช่น ทีวี, รับเสียง / วิดีโอแสดงภาพและลำโพงระยะไกล สำหรับการฟังเพลง
DMP (Digital Media Players) : อุปกรณ์ของเราเป็นตัวดึงข้อมูลจาก Server (DMS) เพื่อมาแสดงผลได้แก่ โทรทัศน์ สเตอริโอ home theater จอภาพแบบไร้สาย และเกมคอนโซล

IPV4 และ IPV6 คืออะไร

 

IPv4 คืออะไร
IPv4 คือ หมายเลข IP address มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท

ความแตกต่างของ IPv4 และ IPv6 
การกำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)

อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล รุ่นที่ 6 หรือ IPv6

ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นและมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงกัน ดังในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet Protocol) ซึงส่วนประกอบที่สำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลขไอพีแอดเดรส ที่ไม่ซ้ำกับใคร

ปัจจุบันเราใช้ไอพีแอดเดรส (IP address) บนมาตรฐานของอินเตอร์เน็ตโพรโตคอลคือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว

นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนไอพีแอดเดรส (IP address) ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตจนคาดคะเนกันว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสของ IPv4 จะมีไม่พอกับความต้องการในปี ค.ศ. 2010 และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับ ระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับไอพีแอดเดรส (IP address) จำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPng ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (เช่น Gigabit Ethernet, OC-12,ATM) และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ (เช่น Wireless Network) นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการใช้ในอนาคต ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไอพีแอดเดรส (IP address) และการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)

ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน ไอพีแอดเดรส ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน ไอพีแอดเดรส เดิมภายใต้ IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน ไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า